Posted in Articles, Reviews

[วิเคราะห์] ธีมและสัญลักษณ์ใน Puella Magi Madoka Magica the Movie: Rebellion

หนังไตรภาค Puella Magi Madoka Magica กำกับโดยอะคิยูกิ ชินโบ เขียนโดยเกน อุโรบุชิ

เราพยายามเน้นวิเคราะห์ภาค 3 “Rebellion” นะคะ แต่ก็มีอ้างอิงเอ่ยถึงสองภาคแรกเพื่อเปรียบเทียบและเชื่อมโยง

มีข่าวออกมาว่าจะมีหนังภาค 4 ออกมาเพิ่มปีหน้า (ซึ่งถ้าให้ตีความสัญลักษณ์ใน trailer แล้วก็… คลุมเครือ รอดูของเต็มเลยดีกว่า…) เราจึงหยิบมาดูใหม่ เขียนบทวิเคราะห์ซะเลยเพราะกะจะเขียนตอนดูครั้งแรกเมื่อปี 2014 จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้เขียนสักที TvT

SPOILERS หนังไตรภาค Puella Magi Madoka Magica

puella-magi-madoka-magica-movie-3-rebellion

ธีมที่สอบเนื่องมาตั้งแต่สองภาคแรก: Beginnings กับ Eternal

สองภาคแรกเน้นธีม:

วัฏจักรความหวัง vs. ความสิ้นหวัง เมื่อความหวังบังเกิดขึ้นก็ย่อมมีความเส้นหวัง ทุกอย่างนำกลับมาที่ศูนย์เพื่อคงความสมดุลเอาไว้ ถ้าเป็นในแง่มุมของชาวพุธก็เป็นเรื่องของการมีความสุขก็ย่อมมีความทุกข์ หากเป็นแง่มุมของชาวคาทอลิก/คริสเตียน คำว่า despair นั้นก็ถือเป็นสิ่งที่สวนทางกันกับหลักแนวคิดที่ให้มีความหวัง มันคือที่สุดของความมืดก็ว่าได้ เพราะความหวังเป็นเหมือนต้นเหตุของแสงสว่าง

Consequentialism ซึ่งถือว่าความชอบธรรมของการกระทำนั้นตัดสินด้วยผลลัพธ์ หรือก็คือ  the ends justify the means – เป้าหมาย/ผลนั้นดีเป็นสิ่งสำคัญ แล้วจะใช้-วิธีไหนก็ถือว่ายอมรับได้

Utilitarianism (ประโยชน์นิยม) ผสมกับ consumerism (บริโภคนิยม) คือมีความเชื่อในการเอาประโยชน์สูงสุด เพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ ในหนังสองภาคแรกนำเสนอมาในแนวประมาณว่าทำไมล่ะ สิ่งที่ฉันทำกับเธอ ถึงเธอจะเดือดร้อน แต่ก็เหมือนเธอที่เธอทำกับสัตว์โลกนะ เธอดูแลสัตว์ที่เธอกิน ถึงจะฆ่ามันภายหลังแต่ก็ถือว่าเป็นการเอื้อกันเอง ก็เป็นสิ่งเดียวกับที่ประโยชน์ของจักรวาลโดยรวมที่ได้จากสาวน้อยเวทมนตร์

นอกจากนั้นเราคิดว่าสองภาคแรกเป็นการแสดงให้เห็นส่วนหนึ่งของ “โลกความเป็นจริง” ตามมุมที่เกน อุโรบุชิต้องการนำเสนอ ซึ่งนำมาสู้ธีมของความจริงไม่ได้มีเพียงด้านเดียว คิวเบย์สัตว์ตัวเล็กที่ดูไม่มีพิษมีภัย โผล่มาเสนอว่ามาเป็นสาวน้อยเวทมนตร์เถอะ! ถ้าเป็นแล้วเราจะให้แบบนี้ ๆ ตามที่ท่านต้องการ เสนอที่จะทำความหวังของท่านให้เป็นจริง แต่ทางเราไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่าท่านต้องเจอกับอะไรบ้าง จะเรียกว่า evil ได้รึเปล่า ก็อาจจะไม่เชิง คิวเบย์จะไปสร้างสถานการณ์บีบบังคับให้เป็นสาวน้อยเวทมนตร์ก็น่าจะได้ แต่ไม่ทำ ปล่อยให้เป็นทางเลือกของพวกตัวเอกล้วน ๆ สุดท้ายก็เป็นเพราะ “เธอไม่ได้ถาม” ธีมตรงนี้ก็พยายามให้คนดูได้สัมผัสเองด้วยจากการให้คนดูได้ค่อย ๆ เห็นความจริงแต่ละด้านเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไป ในตอนแรกก็ไม่มีใครรู้ว่าโฮมูระเป็นใคร เป็นต้น

.

.

ธีมในภาค 3: Rebellion

โดยรวมแล้วภาค Rebellion ก็ยังมีธีมในสองภาคแรก แต่ขยายต่อไปอีก เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการกบฏต่อพระเจ้า

ภาค Rebellion ขยายต่อจาก hope vs. despair และเริ่มพูดถึง desire vs. order (ความปรารถนา vs. กฎ) เมื่อคนเราแหกกฎเพื่อความปรารถนา

ธีมอีกอันที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดคือ ความรัก ในภาคนี้จะเห็นการเปรียบเทียบระหว่างความรักของมาโดกะกับความรักของโฮมูระ ความรักของมาโดกะก็สะท้อนความรักที่เสียสละโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของตัวเอง ความรักที่ไม่อิจฉา ไม่โกรธเคียง ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน ความรักที่ไม่ทำร้ายใคร (อ้างอิง I Corinthian 13:4-7 – “Love is patient, love is kind. It does not envy, it does not boast, it is not proud. It does not dishonor others, it is not self-seeking, it is not easily angered, it keeps no record of wrongs. Love does not delight in evil but rejoices with the truth. It always protects, always trusts, always hopes, always perseveres.”) ในขณะที่ความรักของโฮมูระ… คนดูบางส่วนอาจดูแล้วคิดว่ามันดูเป็นความรักครอบครองเกินเหตุ หรืออาจจะเป็นความรักที่เห็นแก่ตัว แต่เราว่ามันใกล้เคียงกับของมาโดกะ แต่มาต่างกันตรงที่เอา desire มาก่อน ซึ่งนำไปสู่คำถามที่ว่า หรือว่านี่จะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ พวกเราคือเผ่าพันธุ์ที่มี desire เป็นแรงผลักดันโดยธรรมชาติ แต่ก็ใช่ว่าความรักแบบมาโดกะจะไม่มีอยู่จริง เพียงแต่เป็นสิ่งที่ยากที่จะอยู่ในรูปแบบตัวตนของมนุษย์ แต่ความรักของมาโดกะอยู่ในรูปแบบ “คอนเซปต์” ที่ผลักดันให้ผู้คนมีความหวังและไม่ร่วงหล่นสู่ความสิ้นหวังนั่นเอง

.

.

สัญลักษณ์:

.

การแปลงร่าง

การแปลงร่างในภาค Rebellion เราสนใจตรงท่าเต้นของแต่ละคน

มามิเต้นบัลเลต์ โดยรวมแล้วเป็นสัญลักษณ์ของความสง่างามและความสมบูรณ์แบบ แต่ท่าเต้นของมามิจะออกไปทาง ice skating มากกว่าท่าเต้นบัลเลต์ของโฮมูระ ท่าเต้นของมามิกระตุ้นความรื่นเริงกับความคึกคัก ฉากหลังเป็นดอกไม้ ในกรณีนี้เรามองว่าแสดงถึงความเป็นหญิง ตรงที่หมุนตัวรอบสุดท้ายมีลักษณะเหมือน grief seed ก่อนที่จะฉีกและหลุดออกจากความมืดในฉากที่แปลงร่างเสร็จ

เคียวโกะ (คนโปรดของเราเอง TvT ) เต้น Spanish dance เป็นสัญลักษณ์ของ passion และความรักที่เร่าร้อนเสมือนลุกเป็นไฟ ฉากหลังน่าจะเป็น… ผล apricot เพราะชื่อเคียวโกะมีตัวอักษรที่แปลว่า apricot (杏子) ที่เป็นสัญลักษณ์ของพลังที่ป็นผลมาจากอุปสวรรคของความทุกข์ยาก ช็อตที่แปลงร่างเสร็จมีการฉีกออกออกด้วยมือ เหมือนจะสื่อถึงการทำลาย ก่อนจะหลุดออกมาเป็นช็อตที่แปลงร่างเสร็จ

ซายากะเต้น break dance ซึ่งน่าจะสะท้อนบุคลิกลักษณะทอมบอย ๆ ของเธอ แต่คิดว่าคงเป็นการสะท้อนด้วยว่าเธอลืมเคียวสุเกะแล้ว (เพราะเคียวสุเกะเป็นดนตรีคลาสสิค) จะเรียกว่านี่คือตัวตนของซายากะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเคียวสุเกะก็ว่าได้ ถ้าเคียวโกะเป็นเหมือนไฟ ซายากะคงเป็นธาตุน้ำ มีฉากที่เธอวิ่งชนตัวเองก่อนจะหลุดจากความมืดอีกเหมือนกัน (ของซายากะน่าจะหมายถึงการต่อสู้กับตัวเอง)

โฮมูระก็เต้นบัลเลต์เหมือนกับมามิ ที่สองคนนี้ใช้บัลเลต์เหมือนกันอาจจะสะท้อนความเด็ดเดี่ยวที่ทั้งคู่มีเหมือนกัน (ทั้งสองเป็นตัวแทนของ determinism) แต่ไปคนละทาง ท่าเต้นของโฮมูระกระตุ้นคนละความรู้สึกกับมามิ จะแสดงถึงการมีภาระผูกพันและความเศร้า เราเห็นช็อตแวบ ๆ ของตัวอักษรแม่มด (เป็นการใบ้คำตอบของปริศนาในเรื่องให้คนดู) ฉากหลังมีเส้นด้ายสีชมพูและม่วง น่าจะสื่อถึงเส้นด้ายโชคชะตาที่ผูกเอาไว้ระหว่างเธอกับมาโดกะ มีช็อตที่เหมือนแผ่นฟิล์มผ่านไปด้วย (เป็น motif เชื่อมโยงกับฉากแรก ๆ ของหนังที่ต้อนรับทุกคนสู่โรงภาพยนตร์) เธอเองก็มีช็อตที่หลุดจากความมืดเหมือนกับคนอื่น

มาโดกะ เป็นท่าเต้นไอดอลสาวญี่ปุ่น ก็น่าจะเพราะเธอเป็น idolised figure ของโฮมูระ ของพวกพ้อง (และอาจจะของโลก ในฐานะพระเจ้า) มีแค่มือที่สว่าง มือของมาโดกะน่าจะเชื่อมโยงกับการใช้พลังในรูปแบบพระเจ้า (ตอนเธอช่วยคนอื่นเธอยื่นมือไปก่อน ตอนจบโฮมูระคว้ามื้อของเธอก่อนจะตัดเธอออกจากความเป็นพระเจ้า) ฉากหลังเป็นรูกุญแจกับกุญแจ เพราะเธอเป็นกุญแจสำคัญที่จะมาปลดล็อคโฮมูระในตอนท้าย มีดอกเดซี่ซึ่งมักจะมีความหมายเกี่ยวข้องความไร้เดียงสา ความบริสุทธิ์ รักแท้ การเริ่มต้นใหม่ มาคู่กับ clover ที่มีสี่ใบที่เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ภาพตัวมาโดกะที่จับมือเรียงกันน่าจะหมายถึงตัวตนที่มีอยู่มากมายในหลาย timeline และตัวตนที่มีอยู่ในทุก ๆ ที่ในฐานะพระเจ้า ตอนแปลงร่างเสร็จใช้มือปิดโชว์ตาข้าวเดียว เราตีความว่าเป็นดวงตาของพระเจ้าอีกเหมือนกัน ประมาณ the great eye ที่มองเห็นทุกสิ่ง และมาโดกะเป็นคนเดียวที่ไม่ได้หลุดออกจากความมืดแบบคนอื่น แต่เราเห็นแก้วแตก (เชื่อมโยงกับตอนจบที่เหมือนเธอจะแตกออกจากอัตตาความเป็นพระเจ้า) และมีเส้นสายรุ้ง เหมือนฟ้าหลังฝน (มีแถบสายรุ้งในฉากของโฮมูระแบบแม่มดด้วย ซึ่งสายรุ้งนั้นน่าจะเป็นความคิดถึงมาโดกะที่เป็นเสมือนฟ้าหลังฝนของโฮมูระ)

.

ใครคือเค้ก

ระหว่างร้องเพลงใครคือเค้ก แต่ละคนก็วนตอบไป

ซายากะ คือราสเบอร์รี่ เราตีความว่าเพราะราสเบอร์รี่คือสัญลักษณ์ของความใจดีในศิลปะของคริสเตียน น้ำสีแดงคือเลือดที่ไหลผ่านหัวใจ ซึ่งถือกันว่าความใจดีแผ่ออกมาจากส่วนนั้น คิดว่านี่น่าจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่ซายากะพยายามจะเป็น เหตุผลที่เธอมาเป็นสาวน้อยเวทมนตร์ส่วนหนึ่งก็เพราะความใจดี เธออยากเป็นสาวน้อยเวทมนตร์ในแบบที่เธอต้องการจะเป็น (ช่วยคนอื่น) ก็เพราะความใจดีอีกเหมือนกัน

เคียวโกะ คือแอปเปิ้ล สัญลักษณ์ของความรู้ ความอมตะ การล่อลวงและบาป ในภาษาละตินคำว่าแอปเปิ้ลกับ evil นี่เกือบจะเหมือนกัน (malum) หลัก ๆ เราคิดว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องราวชีวิตของเคียวโกะที่ถูกมองจากคุณพ่อว่าเป็นแม่มด เหมือนผู้ถูกล่อลวงและคนบาปที่ถูกขับไล่

มามิ คือชีส เป็นคนเดียวในกลุ่มที่ไม่ใช่ผลไม้ อันนี้เราคิดว่าเป็นเพราะมามิไม่ได้เป็นตัวของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ เธอมักจะสร้างฉากหน้าที่เข้มแข็งที่เหมือนมีการปรุงแต่งมาแล้ว และในหนังมี irony ตรงที่ว่าเบเบชอบกินชีสมากที่สุด ซึ่งในอีก timeline หนึ่ง มามิถูกกิน/ฆ่าโดยเบเบ (ภายหลังมีฉากหนึ่งที่มามิพูดกับเบเบว่าระวังจะกลายเป็นชีสนะ ซึ่งอาจจะสะท้อนแนวคิดเรื่องปลาใหญ่กินปลาเล็กที่มีอยู่ในภาคแรกๆ ถ้าไม่ระวังก็จะกลายเป็นผู้ถูกล่าเอาได้เหมือนกัน)

โฮมูระ คือฟักทอง สัญลักษณ์ของ Jack-O-Lantern หัวฟักท้องของฮัลโลวีน เกี่ยวข้องกับเรื่องราวแจ็ค ผู้ชายที่หยุดปิศาจไม่ให้เอาวิญญาณเขาไปนรก แต่สุดท้ายก็ไปไม่ได้ทั้งนรกและสวรรค์ เพราะสวรรค์ไม่รับ แต่จะไปนรกก็ไม่ได้เหมือนกันเพราะปิศาจสัญญาไว้แล้ว (โซลเจมของโฮมูระในตอนจบก็ดูคล้ายฟักทองด้วย) ฟักทองดูเหมือนจะหลุดออกมาจากปากของตัวฝันร้ายแล้วค่อยตัดฉากไป ในขณะที่ของคนอื่น ๆ ไม่ได้เป็นแบบนั้น อาหารของคนอื่นจะเหมือนถูกป้อนให้ตัวฝันร้าย

มาโดกะ คือเมลอน เป็นผลไม้ตระกูลที่เชื่อมโยงกับฟักทอง อาจจะต้องการสื่อความแตกต่างของเธอกับโฮมูระ ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงโชคชะตาที่ผูกกัน มาโดกะร้องว่า “เมื่อเมลอนแตกออก มันนำฝันดีมาสู่ทุกคน” (โยงกับตอนจบของหนังภาค 2 ที่ตัวตนของมาโดกะแตกกระจายออกไปกลายเป็นเพียงคอนเซปต์ ที่นำความหวังมาให้มนุษยชาติ และโยงกับตอนจบของหนังภาคนี้เช่นเดียวกัน)

.

ฉากรู้ความจริง

ตอนที่โฮมูระรู้ความจริงว่าใครคือแม่มด เธอขึ้นไปนั่งบนรถบัส และมีนาฬิกาจะตีบอกเวลาใกล้เที่ยงคืน พอถึงจังหวะที่เธอรู้ความจริงก็มีนกฮูกบินมา เป็นสัญลักษณ์ของความรู้ เมื่อรู้ก็บังเกิดไฟขึ้น แสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล ความทุกข์ร้อนใจ แล้วเวลาก็ตีบอกเวลาเที่ยงคืน ถือเป็นเริ่มต้นวันใหม่ หรือจะเรียกว่ากลับมาที่ศูนย์ดี… อีกนัยหนึ่งอาจจะหมายถึงการที่เวลาที่ถูกหยุดไว้ได้เดินต่อแล้ว

.

อื่น ๆ

โบว์สีแดงของมาโดกะ น่าจะหมายถึงเส้นดายของโชคชะตาแต่แรก เธอเลือกใส่โบว์อันนี้วันแรกที่เจอโฮมูระ (อย่างน้อยก็ในไทม์ไลน์ที่อยู่ในภาคแรก) เธอให้โบว์อันนี้กับโฮมูระตอนที่กลายเป็นพระเจ้า สุดท้ายในตอนจบโฮมูระก็คืนโบว์นี้ให้กับเธอ

.

.

.

ที่จริงอยากจะวิเคราะห์ Homulily ด้วย แต่แค่วกกลับไปดูฉากนั้นอีกทีก็… เยอะอยู่ วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะ ยาวแล้ว orz อื่น ๆ ถ้าไม่สปอยล์เป็นพิเศษอาจพล่ามในทวิตเตอร์แทนค่ะ

ทั้งนี้มีคนตีความหมายในมาโดกะไว้ร้อยแปด ของเราก็เป็นเพียงมุมหนึ่ง /โค้งรอบวงแล้วจากไปย์

Posted in Reviews

[Review] Bogowie: Gods พระเจ้าในเสื้อกาวน์สีขาว

A Ticket To Vega

 

(เช่นเคยว่ายังไม่อาจหาญเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นบทวิเคราะห์ บทวิจารณ์ จะยังคงคอนเซ็ปบทบันทึกหลังหนังจบต่อไปจนกว่าจะปีกกล้าขาแข็ง(?)กว่านี้)

(คำเตือน – มีสปอยล์บ้างนิดหน่อย มั้ง)

 

 

 

 

 

 

 


Directed by Łukasz Palkowski

(ขอเลือกโปสเตอร์ต้นฉบับมาแทนโปสเตอร์ภาคภาษาอังกฤษเพราะถูกใจที่ใช้กราฟจังหวะการเต้นของหัวใจมาแทนตัว w ดูเป็นกิมมิคที่เก๋ดี)

(ขอบคุณพี่หนึ่ง @Adyn_Dtrio ที่ให้คำปรึกษาและช่วยถอดเสียงคำในภาษาโปแลนด์ค่ะ)

 

 

 

 

 

จากที่ได้เล่าไปในเอนทรี่ก่อนหน้าที่เขียนถึงเรื่อง Life feels good ว่าวิชา Contemporary Film (ภาพยนตร์ร่วมสมัย) มีแอสไซน์เมนท์ให้ไปดูหนังในเทศกาลภาพยนตร์โปแลนด์เรื่อง Gods (ชื่อในภาษาโปแลนด์คือ Bogowie แปลว่าพระเจ้าเหมือนกัน) – สารภาพกันตามตรง พอขึ้นชื่อว่าเป็นหนังเทศกาล ได้รางวัลมาหลายรายการ ประกอบกับเรื่องย่อที่ได้อ่านแล้ว ก็คาดคะเนไว้ว่ามันคงเป็นหนังดีแหละ น่าจะดีประมาณหนึ่งเลยถึงได้รางวัลและถูกเลือกมาฉายในเทศกาลหนังหลายประเทศรวมถึงที่ไทยด้วยแบบนี้ (ที่ใช้คำว่าประมาณหนึ่ง เพราะคำว่าดีของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน มีหลายครั้งที่เราดูหนังที่หลายคนบอกว่าดี ดีมาก ดีมากเลย ด้วยความรู้สึกว่า อืม มันก็ดีอะ แต่มันก็ไม่ได้ดีมากขนาดนั้น จะไม่บอกนะว่าเรื่องนั้นคืออตสตล. (ฮา) เพราะฉะนั้น หนังเทศกาลและหนังรางวัลหลาย ๆ เรื่องเราจึงเลือกใข้คำว่าดีประมาณหนึ่งเพื่อเว้นช่องว่างไว้ให้รสนิยมของคนฟังต่อไป) แต่คำว่าหนังดีกับหนังสนุกมันเป็นคนละเซ็ตที่ยูเนียนกันอยู่ หนังบางเรื่อง โดยเฉพาะหนังรางวัล หนังเทศกาล มักจัดอยู่ในหนังดี แต่เป็นเซ็คชั่นฝั่งหนังดีที่เป็นแค่หนังดี – เลยประเมินเรื่องก็อดส์ หนังชีวประวัติ (ผสมดราม่า) ของคุณหมอที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจในโปแลนด์ ว่าคงเป็นหนังที่จัดเข้าเซ็ตหนังดีนั่นล่ะ แต่พอไปดูแล้วถึงรู้ ว่าเรื่องนี้มันอยู่ตรงอินเตอร์เซ็คชั่นของหนังดีกับหนังสนุกชัด ๆ เลย

 

ความประทับใจของหนังเรื่องนี้ นอกเหนือไปจากการที่เป็นหนังดีที่ได้รางวัล โดยไม่มีฉากเปลือยแพลมออกมาบ้าง หรือมีเรื่องเซ็กส์ ความรุนแรง ยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง (สังเกตดูว่าหนังรางวัลหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะที่ได้รายการใหญ่ ๆ อย่างออสการ์หรือโกลเด้นโกลบ คานส์ เบอร์ลิน เวนิซ ก็มักจะมีฉากที่กล่าวมาอยู่) ก็อยู่ตรงที่การนำเสนอตัวตนของคุณหมอซบีเนียฟ เรลิก้า (Zbigniew Religa) แพทย์คนแรกของโปแลนด์ที่ทำการปลูกถ่ายหัวใจสำเร็จ ของผู้กำกับ ที่ไม่ได้ทำให้ก็อดส์เป็นหนังชีวประวัติ เชิดชูเกียรติ คุณูปการ ความยากลำบาก ความพยายาม ว็อทเอเวอร์ ของคุณหมอ ไม่ได้ตัดสินคุณหมอเรลิก้าว่าเป็นคนดีหรือไม่ แต่เป็นการโยนข้อมูลและเหตุการณ์ใส่คนดู เพื่อให้ใช้วิจารณญาณและตั้งคำถามเอาเองว่า ทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นมานั้น คุณหมอเรลิก้าทำถูกไหม เหมาะสมหรือเปล่า คุณหมอเรลิก้าเป็นคนดี หรือแค่เป็นคนที่มีฝีมือและความมั่นใจ – หนังไม่ได้ตัดสินใจแทนคนดูอย่างหนังชีวประวัติหลาย ๆ เรื่องที่จะออกมาในเชิงโน้มน้าวใจ สร้างความรู้สึกทางบวกต่อบุคคลเจ้าของเรื่องในกับคนดู (หนังชีวประวัติที่นำเสนอข้อมูลแล้วให้คนดูตัดสินใจเองอีกเรื่องที่รู้สึกว่าดีมาก ค่อนข้างสนุก และอยากแนะนำ คือเรื่องเพชฌฆาต (The Last Executioner) นำแสดงโดยคุณวิทยา ปานศรีงาม)

ดูอย่างผิวเผิน ความพยายามที่ค่อนไปทางดันทุรังหน่อย ๆ ของคุณหมอเรลิก้า น่าจะเกิดจากการตายของเอวา คนไข้เด็กในความดูแลของคุณหมอที่เสียชีวิตระหว่างผ่าตัดเนื่องจากหัวใจไม่แข็งแรงพอที่จะทำงานต่อได้ และคุณหมอเรลิก้ารู้ว่าการปลูกถ่ายหัวใจคือการรักษาที่ดีที่สุดในเคสนี้ – แต่เมื่อเรื่องราวดำเนินต่อไป ทั้งการพยายามที่จะสร้างคลินิคเฉพาะทางสำหรับรักษาโรคหัวใจในเมืองซาเบรซ์ การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินทุนเข้ามาสานต่อ ความดันทุรังจะผ่าตัดแม้ว่าจะทำให้คนไข้ตายหลังจากผ่าตัดไปแล้วถึง 3 ราย (และถ้านับรวมผู้บริจาคด้วย…

View original post 540 more words

Posted in Articles, Reviews

Conceal, Don’t Feel: A Queer Reading of Disney’s [Frozen]

I’ve found that interpreting Disney’s Frozen as a gay allegory makes sense to me after all.

Dr. Angel Daniel Matos

Don’t let them in, don’t let them see
Be the good girl you always have to be
Conceal, don’t feel, don’t let them know
Well, now they know.

– Queen Elsa, “Let It Go” – Disney’s Frozen

Last night I saw Frozen, Disney’s adaptation of Hans Christian Andersen’s classic fairy tale entitled The Snow Queen. After seeing the film, my friend Katie pointed out that this movie is perhaps signaling another Disney renaissance, a period characterized not only by the adaptation of well-known tales, but also by an increased public interest in Disney films. I couldn’t agree more with Katie’s assessment–Frozen contained a sense of depth and heart that many recent Disney films lack. Something that I immediately thought about when leaving the movie theater was that Frozen is perhaps the queerest animated film ever produced by Disney–queer being a theoretical practice centered on the deconstruction of…

View original post 1,242 more words

Posted in Reviews

(Film Review) The Hobbit: The Desolation of Smaug

ไปดูมาแล้วทั้งแบบธรรมดาและ 3D… จขบ.ว่าแบบ 3D ลื่นตากว่า สวยกว่าอย่างเห็นได้ชัดเหมือนกันนะ รวมๆแล้วสนุกสนานบันเทิงดี เชียร์ให้ทุกคนได้ดู แต่ว่าถ้าจะให้ติแบบเวิ่น ๆ ก็มีพอสมควรล่ะ

SPOILERS! นะคะ ใครไม่อยากถูก spoil ก็ปิดไปเสียเถิด (อีกทั้งยังพาดพิง spoil เบา ๆ ไปถึงไตรภาค The Lord of the Rings ด้วย) /พาดพิงหนังสือด้วยหน่อยหนึ่ง

.

.

.

.

.

.

The Hobbit: The Desolation of Smaug

2013, กำกับโดย Peter Jackson

Image

Thranduil [to Thorin]: Do not talk to me about the dragon’s fire, I know its wrath and the sufferings it causes. I warned your grandfather about what his greed would bring. He did not listen to me. You’re the same.

– จขบ.กะอยู่แล้วประมาณหนึ่งว่าภาค 2 คงเต็มไปด้วยบู๊แหลกลาญซะมาก ซึ่งก็เป็นแบบนั้น แล้วมันก็สนุกมากเลยนะ เสียแต่ให้ความรู้สึกกระจุยกระจาย ช่วงหลังๆยืดเยื้อประมาณหนึ่ง โดยรวมแล้วด้านเอฟเฟ็คและฉากมันให้ความรู้สึกดูมืด ๆ ขึ้นกว่าภาคที่แล้ว แต่ทางด้านความรู้สึกก็ไม่ได้ดาร์กอะไร

– ดูภาคนี้ให้ความรู้สึกว่าจริง ๆ The Hobbit แบ่งเป็นสองภาคแทนคงจะดีกว่า จำได้ว่าลุง PJ ตัดสินใจแบ่ง The Hobbit ออกเป็นสามภาคแทนสองภาค แล้วภาคนี้มันให้อารมณ์เหมือนตัดสินใจเติมบทช่วงท้ายเพื่อสร้าง climax ให้ภาคสองมากเลยแต่เกลาบทช่วงท้ายมาไม่ดีเท่าช่วงแรก เพราะหลายฉากในครึ่งหลังมันให้ความรู้สึกว่าไม่จำเป็นเลย แต่ก็โอเค๊ ดูแล้วก็ยังรักนะตัวเอง พอจะเก็ทว่าภาคระหว่างกลางคงทำยาก เพราะเป็นภาคที่อยู่ระหว่างจุดเริ่มต้นและบทสรุปพอดี

– ชอบบทของบีออร์นมากกก คิด ๆ ดูแล้วก็ชอบบทในตอนแรกตั้งแต่ที่บิลโบโผล่จนกระทั่งออกจากบ้านบีออร์นทั้งหมด ดูแล้วรู้สึกตื่นตาตื่นใจเป็นการส่วนตัว ที่บ้านบีออร์นก็รู้สึกว่าเป็นบรรยากาศที่ดีให้เหล่าคนแคระให้พักผ่อนหย่อนใจ ระคนถูกเตือนและสั่งสอนเบา ๆ /ประทับใจ

– PJ เขาถ่ายทำเก่งดีค่ะ ฉากที่ให้จะมึนก็ดูมึน จะเหม็นก็ดูเหมือนจะเหม็น ถึงรสถึงเนื้อดี… ชอบ cinematography มาก ดูเป็น 3D แล้วสวย ดูแบบธรรมดามุมกล้องก็ไม่รู้สึกขัดนะ

– ชอบเพลงประกอบมาก เพลงที่จขบ.รักเป็นพิเศษคือตอนที่บิลโบโผล่หัวจากต้นไม้ในเมิร์กวู้ด เพลงตอนเข้ามาถึงเมืองทะเลสาบ กับเพลงตอนเปิดประตูเอเรบอร์ได้ XD

– ฉากที่จขบ.ชอบที่สุดใน DoS คือตอนที่บิลโบลืมตัวฆ่าปูยักษ์ (หรืออะไรสักอย่างที่คล้าย ๆ…)  ชอบที่มันโผล่มาแล้วไม่ได้ดูดุร้ายแบบแมงมุมอื่น โทนสีก็อ่อน ๆ  อารมณ์ตอนแตะโดนแหวนก็ด้วยความไม่รู้ด้วยซ้ำ เจ้าปูก็ไม่ได้โจมตีอะไรบิลโบก่อน แต่บิลโบพุ่งไปเฉาะจนมันตายแล้วเก็บแหวนคืนมา ประทับใจสุด ๆ  YvY,,

– วังวู้ดแลนด์ ณ เมิร์กวู้ดมันคล้ายลอธลอริเอนเกินไปอ่ะ รู้สึกผิดหวังกับดีไซน์ มองแล้วอะไร ๆ ให้ความรู้สึกปลอมไปหมด ต้นไม้ไม่ให้ความรู้สึกเป็นต้นไม้เท่าไร (ซึ่งกลับไปดูลอธลอริเอนใน LOTR ตอนนี้… มันก็ดูไม่ปลอมขนาดเมิร์กวู้ดในฮอบบิท DoS นะ /ทรุด) นอกจากนั้นยังจิ้นวังวู้ดแลนด์ไว้ว่ามันต้องเห็นดินเห็นใบไม้มากกว่านี้เยอะเลย

– ประทับใจเลโกลัสที่สุดคือฉากแรกที่โผล่มา แล้วค้นเจอรูปกิมลี กับอีกฉากหนึ่งที่ต่อสู้โดยเหยียบหัวคนแคระไปเรื่อย ๆ  อ่ะเอิ๊กกกก แต่ฉากอื่น ๆ ที่อยู่กับท่านพ่อ กับแม่นางเทาริเอล(ในซับเขาแปลว่าธอเรียล)นี่เฉย ๆ หมดแฮะ คาดว่าเขาอาจจะอยากนำเสนอเลโกลัสที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น moody นิด ๆ คล้ายจะอยากแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากท่านพ่อ(รึเปล่า) แต่เราว่ามันก็ห่างจากคาแร็คเตอร์ของเลโกลัสใน The Fellowship of the Ring เกินไปหน่อย YvY คือถ้าบิวด์ฮีมาขนาดนี้ในภาคสอง ภาคสามน่าจะมีบทสรุปบางอย่างที่ทำให้เลโกลัสเปลี่ยนไปบ้างมั้ง

– ป๋าธรันดูอิลโดนใจเราแฮะ ยิ่งดูอีกรอบก็ยิ่งโดนใจ แม้จริง ๆ จะนึกภาพฮีไว้นิ่งและขรึมกว่านี้ แต่นางเหวี่ยง ๆ สะบัด ๆ แบบนี้ก็สะท้านใจดี

– ชอบฉากที่ป๋าธรันคุยกับธอรินทั้งหมดนะ ยกเว้นไว้แค่ตอนที่แสดงใบหน้าเละ ๆ ให้ดู (จขบ.ว่าจุดนั้นมันทำให้รู้สึกกวนใจระหว่างบทสนทนามากเกินไป แถมไม่ปลื้มที่ PJ ทำเหมือนเอลฟ์มีเวทมนตร์นู่นนี่นั่นด้วยแหละ ซึ่งมันตัดพลังความขลังที่ว่าพวกเอลฟ์แค่มีวิชาความรู้เยอะด้วยสติปัญญาและอายุไขอันยาวนาน) แต่ยังไงก็ตาม มีธอรินติเตียนป๋าธรัน แล้วป๋าธรันติเตียนธอรินและปู่ของธอรินกลับ กรี๊ดกร๊าดเป็นการส่วนตัว

– ชอบพวกฉากสู้ตอนออกจากเมิร์ดวู้ด ได้เห็นคนแคระหลายหน้าได้ครบครัน เห็นความสามัคคี เห็นความดิบแบบฮา ๆ ดี ครบเครื่อง 5555+

– แม่นางเทาริเอลนี่ไม่ได้คาดหวังอะไรจากนางเลย ผลปรากฎว่าเราโอเคกับนางนะ รู้สึกว่าให้ความรู้สึกว่าเป็นเอลฟ์จากเมิร์กวู้ดแต่ก็มีมุมมอง contrast กับเมิร์กวู้ดดี นางก็เท่ห์ดี ไม่ได้ประทับใจฉากแรกที่นางพบกับคิลีเป็นพิเศษ รู้สึกว่ามัน cliche ดาษดื่นและไร้บรรยากาศเกินไป แต่กลับชอบฉากที่นางคุยกับคิลีในคุก เพราะรู้สึกว่าเพิ่มบรรยากาศที่เป็นส่วนตัวให้กับหนังได้ดี แต่พอมาถึงตอนที่นางพบอะธีลาสและช่วยคิลีก็ชักจะเยอะไปจนไม่ได้ช่วยให้ DoS สมบูรณ์ในฐานะหนังแล้ว จริง ๆ จบแค่ตรงในคุกแล้วสื่อความรักมาแบบเนียน ๆ  ไม่ต้องถึงขั้นให้คิลีบาดเจ็บก็ได้ (PJ เหมือนพยายามป้อนทุกอย่างให้คนดูเลยอ่ะ ทั้งที่หลายเรื่องถ้าสื่อแบบบาง ๆ มากกว่านี้คงจะเวิร์คกว่าเยอะ) จขบ.ไม่อิน แต่ดันฮากับฉากแม่นางเทาริเอลเปล่งแสง ฟีลมันไม่ใช่ 555555+

– โดยรวมแล้วกับเนื้อเรื่องรักสามเส้านี้แค่มีความรู้สึกแบบถึงบางอ้อว่าที่ให้คิลีหล่อเพราะเหตุนี้เองสินะ กร๊าก

– PJ แลจะชอบทำ parallel scenes  เช่นนำเสนอสองฉากที่มีลักษณะเหตุการณ์คล้ายกัน แต่จุดเปลี่ยนต่างกัน หรืออะไรแบบนั้น แล้วพอมาถึง DoS ยิ่งเห็นชัดว่าเขาพยายามโยงให้ The Hobbit เป็นหนังซีรีส์ชิ้นเดียวกับ LOTR มาก เพราะมี parallel scenes ที่โยงไปได้หมด ซึ่งจขบ.ว่าฉากแบบนี้มันดูลื่นในภาคหนึ่ง แต่ภาคสองดันให้ความรู้สึกว่ามันกระจุยกระจายแฮะ ทั้งบทพูดและเนื้อเรื่องที่เสริมมานี่มีมากเกินความจำเป็นจนทำให้ดูแบน ๆ ไปซะแทน แต่ parallel scenes ที่จะรู้สึกคุ้นและคิดว่าดีก็ตอนที่บาร์ดร่วมมือกับลูก ดูสะท้อนอารมณ์คล้ายตอนที่แกนดัล์ฟใช้งานให้ปิ๊บปิ้นจุดไฟตอนอยู่มินาสทิริธ(มั้งเนอะ) น่ารักดี

– ชอบฉากเปิดตัวของบาร์ดที่ยิงธนูแม่น ๆ  แล้วหัวธนูมันดูคล้ายธนูดำด้วยแฮะ XD ❤ แล้วก็ประทับใจเมืองทะเลสาบมากถึงมากที่สุด ชอบทั้งหมดเลย ดีไซน์เมือง ฯลฯ (มารู้จากคุณเพื่อนไมโลทีหลังว่าลูกวอลนัทที่คิลีนอนหนุนตอนป่วยเนี่ย คือตามปกติที่คนจนเขาใช้เป็นหมอนในสมัยก่อน /รู้สึกดีใจที่ได้เห็น walnut pillow…) บาร์ดก็รัก มาสเตอร์เลคทาวน์ก็ชอบ (จขบ.เป็นแฟนเกิร์ล Stephen Fry ที่แสดงเป็นมาสเตอร์เลคทาวน์ด้วย เลยอิ๊งอ๊าง เสียงและน้ำเสียงคุณฟรายตอนพูดบทมาสเตอร์เลคทาวน์นี่มันเหม๊าะเหมาะ TvT )

– ชอบมุกตลกนะ หลายตอนคิดว่ามันเป็นมุกตลกซื่อ ๆ ทีน่ารักมาก

– รักคุณพ่อมดราดากัสต์ โมเอ้

– ตอนไปดูรอบแรก ทำไมจขบ.ดูเหมือนจะเป็นคนเดียวที่หลุดหัวเราะตอนเห็นธนูแขวนผักของบาร์ด… คือมันน่ารักมากค่ะ รัก 555555555+

– จขบ.ผิดหวังกับตัวละครของธอรินภาคนี้แฮะ รู้สึกว่าเขาเน้นด้านมืดในจิตใจของธอรินไม่พอ ความยึดติดของธอรินที่มีต่ออาร์เคนสโตนน่าจะชัดเจนนี้ เข้าใจอารมณ์ที่เอื้อบทของธอรินให้ดูเท่ตามประสาผู้นำและว่าที่กษัตริย์ แต่จขบ.ว่าจุดอ่อนในตัวธอรินที่ควรจะเน้นก็ดันไม่ได้เห็นมากนัก

– นอกจากจะเห็นด้านมืดไม่พอแล้วลูกเล่นยังไม่โดนใจอีก OTL ไอเดียมังกรชุบทองนี่อยากให้ตัดไปมาก ถ้าจะมาซะแบบนี้ตัดจบซะตั้งแต่ตอนเปิดประตูเอเรบอร์ได้แล้วไปอัดแต่เนื้อ ๆ ในภาคสามก็ได้นะ (คือเปิดประตูได้มันก็อาจจะไม่ได้ดูเป็น climax ที่ยิ่งใหญ่มาก แต่จขบ.รู้สึกว่ามี emotional fulfillment ในฉากนั้นมากกว่าฉากมังกรชุบทอง) คาดว่า PJ อยากมอบบทสไตล์ฮีโร่ให้คนแคระใช่ไหม แต่วิธีนี้มันดูไม่ใช่อ่ะ แม้จะคิด ๆ ดูแล้วตรงมันกรชุบทองอาจจะเป็นการสื่อในเชิงสัญลักษณ์ด้วยว่าเอาความโลภของธอรินมาปะทะกับสม็อกก็มีแต่ epic fail เพราะก็ตามืดบอดเหมือน ๆ กัน…? /แต่ก็แป้กอยู่ดี /ทั้งนี้ทั้งนั้น ฉากที่สม็อกโบยบินสะบัดทองก็สวยแบบชวนขำดีนะ 555555555 ,,TTvTT,, /หัวเราะทั้งน้ำตาส์

– ฉากที่คุยกับสม็อกนี่ประทับใจสม็อกแต่รู้สึกว่าบทบิลโบอ่อนไปหน่อย แล้วสม็อกก็พูดจนชักจะคิดว่าพูดมากจัง (อารมณ์แบบเค้าไม่ได้จ้อนาน คนดังรู้สึกเหงา เลยต้องโชว์เรือนร่างนาน ๆ) แล้วหลังจากพวกคนแคระตามเข้ามาก็รู้สึกว่าอยากดู The Hobbit อ่ะ ไม่ใช่ The Greatness of Erebor… OTL (ดู The Greatness of Erebor ก็ได้นะ แต่นี่มันดูเป็นการโชว์เอฟเฟ็คและดีไซน์โดยที่บทมันไม่มีประเด็นดึงดูดใจเท่าไร)

– ประทับใจที่ทำให้ตาของสม็อกสะท้อนภาพดวงตาของเซารอน ชอบที่สม็อกกับเลโกลัสพูดด้วยคำประมาณเดียวกันว่าเจ้าน่ะเป็นทั้ง “a thief and a liar” ซึ่งเลโกลัสพูดกับธอริน แล้วสม็อกพูดกับบิลโบในช่วงแรกสุดที่คุยกัน ดูเป็นสองคำที่ย้ำเบา ๆ ในหนังเรื่องนี้ เป็นความประทับใจแรกที่คนอื่นคิดตอนเห็นการเดินทางของคนแคระกลุ่มนี้ แต่พวกคนแคระดันไม่เห็นเป็นอย่างนั้น อะไรแบบนี้ ชอบ ๆ

– ที่เพิ่มบทให้แกนดัล์ฟนี่เราชอบมากเลย แต่ครึ่งหลังของหนังมันตัดกลับไปกลับมาเยอะไป ไม่ทันจะอินกับมังกรก็ตัดมาเมืองทะเลสาบ ไม่ทันอินกับเมืองทะเลสาบก็มาเจอแกนดัล์ฟ ซึ่งพอถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกว่ามากความไป ตูเข้าใจแล้ววว ว่าต้องการจะเล่าอะไร TvT;

– ชอบการแสดงของ Martin Freeman มากถึงมากที่สุดอ่ะ ฮา

– รู้สึกว่าเหมือนมีอะไรอยากพูดอีก แต่โดยรวมทั้งหมดก็ประมาณนี้

.

.

.

เจอกัน entry หน้าค่า

Posted in Reviews

(Film Reviews) Like Father, Like Son + Snowpiercer

ลองสมัคร WordPress ไว้นานแล้ว ในที่สุดก็มาอัพ entry แรกสักที 55+

วันนี้ได้นัดไปดูหนังกับเซย์แบบค่อนข้างกะทันหัน จึงกลับมาอัพพล่ามถึงภาพยนตร์เรื่อง Like Father, Like Son [Soshite chichi ni naru] (2013) และ Snowpiercer (2013) กัน  มี SPOILERS บ้าง แต่คาดว่าไม่ถึงกับทำให้เสียอรรถรสสำหรับคนที่ตั้งใจจะไปดูหนังสองเรื่องนี้เน้

_

Like Father, Like Son [Soshite chichi ni naru]

2013, กำกับโดย Hirokazu Koreeda

Image

“ปะป๊ากับมะม๊าของริวเซน่ะรักลูกมากเลยนะ”

“มากกว่าปะป๊าอีกหรือฮะ”

“มากกว่าสิ”

Plot:

ปะป๊าสุดหล่อเป็นสถาปนิกจอมขยันแถมรวยนายหนึ่งมีภรรยาเงียบ ๆ ใจดี ๆ  มีลูกชื่อเคตะ ซึ่งปะป๊าก็รักลูกนะแต่การแสดงออกค่อนข้างเย็นชา ไม่ค่อยทำกิจกรรมอะไรร่วมกับลูกเพราะถือว่าลูกต้องทำอะไรได้ด้วยตัวเองเพียงคนเดียว

หนังเปิดตัวมาชัดเจนว่า ปะป๊าคิดว่าข้อดีของเคตะก็คือเงียบและใจดีเหมือนคุณแม่ แต่ก็เป็นข้อเสียเหมือนกันเพราะเฉื่อยและยอมคนเกินป๊าย ด้วยว่าปะป๊าที่ไม่ยอมแพ้ใคร (จริง ๆ พ้มก็อยากให้ลูกเหมือนพ้มบ้าง XD ) แต่ลูกก็ขยันนะ พยายามเก่งอยู่เงียบ ๆ  อยากมีพรสวรรค์แบบปะป๊าบุรุษซึนมั่ง

ไป ๆ มา ๆ ทางโรงพยาบาลติดต่อมาว่า มีความผิดพลาดสลับตัวเด็กทารกล่ะ ทั้งนี้ก็เริ่มดำเนินคดีค้นหากันว่ามันเกิดเหตุขึ้นได้ยังไง แล้วครอบครัวนี้ก็เริ่มทำความรู้จักกับอีกครอบครัวหนึ่ง(ซึ่งขายอุปกรณ์ไฟฟ้าธรรมดา ไม่ได้รวยหรูเนี้ยบอย่างบ้านของปะป๊าตัวเอกแต่อย่างใด) ได้พบกับลูกแท้ ๆ นามว่าริวเซ ซึ่งก็ดูเข้มแข็ง แต่คล้ายจะติดเชื้อซนเหมือนลิงเหมือนน้อง ๆ คนอื่นในบ้านโน้น

จึงปัญหาว่าเราจะสลับเด็กกัน หรืออย่างไรดี ใจหนึ่งก็อยากได้ลูกในสายเลือดมาอยู่ด้วย แต่ลึก ๆ ก็ผูกพันกับลูกไม่แท้ที่เลี้ยงมา 6 ปีนี่สิ

Comments:

– แสดงเป็นธรรมชาติกันทุกคนนะ เด็กทุกคนน่ารักมาก ๆ

– เป็นหนังที่ค่อนข้างเงียบสไตล์หนังญี่ปุ่นแฮะ ไม่มีบทพูดอะไรยืดยาวนัก อย่างไรก็ดีผกก.ให้เนื้อที่ตัวละครเด่น ๆ ทุกตัวได้มีปากเสียง และสะท้อนรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน

– ไม่ใช่หนังเศร้าโศกเคล้าน้ำตา แต่จี้จุดให้ซึ้งได้ดี สารภาพว่าจขบ.เสียน้ำตาหนึ่งหยดถ้วน (ฮา) ไม่ต้องพูดมีบทพูดมากมายก็อินไปกับการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เชื่อมโยงกันกับเนื้อเรื่องโดยรวม

– จากการตีความส่วนตัว  Like Father, Like Son เล่นไอเดียเกี่ยวกับ nature vs. nurture  ตั้งคำถามที่ว่าคนเรานั้นเกิดมาโดยได้รับอิทธิพลจากสายเลือดโดยธรรมชาติ หรือว่าการเลี้ยงดูมากกว่ากันหรือว่าอย่างไรกันหนอ นิสัยและความสามารถนี่ไม่ว่ายังไงก็อยู่ในสายเลือดจริง ๆ หรือ ซึ่งผกก.ก็นำเสนออิทธิพลของนิสัยทั้งจาก nature และ nurture ให้เห็นอย่างชัดเจน

– มีคำถามอื่น ๆ เช่นการเลี้ยงเด็กที่ไม่ใช่คนในสายเลือดก็ยังสามารถรักเด็กเหมือนลูกแท้ ๆ ได้ใช่ไหม ในขณะเดียวกันความรักที่มีต่อลูกนั้นได้รับอิทธิพลจากการที่มีสายเลือดเดียวกันมากน้อยเพียงใด ฯลฯ

– Like Father, Like Son พูดถึงการเลี้ยงดูเด็กโดยทั่วไปด้วย สำหรับเด็กแล้วอะไรสำคัญหรือ ปะป๊าที่ไม่ค่อยมีบุคลิกอบอุ่นแต่ให้การศึกษาที่ดีกับลูก vs. ปะป๊าที่เรื่อย ๆ เปื่อย ๆ ทางด้านการงานแต่มีเวลาให้ลูกมากกว่านั้น สามารถเอามาตัดสินได้หรือไม่ว่าใครเป็นพ่อที่ดีกว่ากันหรือแบบใดเป็นการเลี้ยงดูที่ดีต่อเด็กมากกว่ากัน

– ปะป๊าตัวเอกหล่อแฮะ เก๊กแบบน่ารักปนซึน ๆ  XD

– บางตอนก็เดินเรื่องช้าเกินไปนิด เอื่อย ๆ ไปหน่อย

– อย่างไรก็ดี จขบ.มีโมเมนต์ที่เห็นใจตัวละครได้ทุกตัวนะ แล้วก็ได้เห็นการพัฒนาของทุก ๆ คนด้วย เป็นหนังที่สมบูรณ์ในตัวของมันเองดีค่ะ

_

Snowpiercer

2013, กำกับโดย Joon-ho Bong

Image

“The people at the front of the train are the head, and those at the back of the train are the feet.”

สารภาพว่าพลาดไป 5 นาทีแรกเพราะจขบ.เข้าไปดูไม่ทัน แต่ไม่เป็นไร แอบไปคุ้ยจนค้นพบว่าห้านาทีแรกไม่มีอะไรมากนัก ฮา

Plot:

รวม ๆ แล้วคือโลกมนุษย์ต้องกลับไปอยู่ในยุคน้ำแข็งเพราะสารเคมีที่พยายามทำให้อากาศบนโลกเย็นลง แต่มันดันเย็นลงถึงขนาดที่ทำให้มนุษย์แทบสูญพันธุ์ แล้วก็มีชีวิตอยู่กันในรถไฟที่สามารถฝ่าความหนาวระดับสูงได้ ซึ่งผลิตโดยบุรุษนามว่าวิลฟอร์ด

ทว่าคนท้ายขบวนมีชีวิตอยู่กันอย่างแร้นแค้น ก็เลยเตรียมตัวจะกบฏแบบลุย ๆ ต่อสู้ผ่านประตูแล้วประตูเล่าจนกว่าจะไปถึงหัวขบวนกัน

คุณพระเอกเคอร์ติสก็ตามสไตล์ฮีโร่ทั่วไป มีส่วนช่วยเหลืออย่างใหญ่หลวงในการนำคนให้ร่วมต่อสู้กับระบบอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่แบบ… จริง ๆ เราไม่อยากเป็นผู้นำนะตัวเอง แค่จำเป็นต้องนำ แล้วก็ได้รับการให้กำลังใจจากคนใกล้ชิดว่าเป็นเหอะ นายต้องนำคนไปหัวขบวน และสุดท้ายก็อาจจะต้องเป็นคอยควบคุมดูแลเครื่องจักรขบวนรถไฟเพื่อมวลมนุษย์ทุกคนในรถไฟต่อไป

Comments:

– Snowpiercer ดูจะเน้นการคำถามเกี่ยวกับระบบการปกครองแบบเผด็จการ (totalitarianism)  จขบ.คิดว่าแต่ละขบวนที่พระเอกผ่านไปนั้นเป็นการสะท้อนสังคมรูปแบบต่าง ๆ ในเชิงสัญลักษณ์ แต่วิธีที่มันนำเสนอออกมาทำให้ดูมั่วเกินไปหน่อย จขบ.เลยไม่อินมันทั้งดุ้นเลย (อ่ะแห่ะ) ในช่วงแรก ๆ ของหนังนี่ดูจะเข้าท่ามากเลย แต่ผ่านไปสักพักชักจะมึน ๆ  รู้สึกว่าหลาย ๆ อย่างมันชวนแป้กมากกว่าโอ้โหอ่ะ

– จขบ.ไม่ได้รู้สึกว่าตัวละครมันมีการพัฒนาหรือจุดเปลี่ยนให้เห็นเด่นชัดอะไร…เลย OTL

– มาดูแบบแอบติ่ง John Hurt เบา ๆ… แต่บทฮีก็ไม่มีอะไรมากนะ TvT ฮีดูจะได้รับบทผู้มีสติปัญญาให้มาเป็น father figure (ตัวแทนพ่อ) หรือ mentor (ที่ปรึกษา) ให้ฮีโร่ แต่ไม่ได้รู้สึกว่าหนังได้เปิดช่องให้จขบ.ได้มีอารมณ์ร่วมไปกับความสัมพันธ์ของพระเอกกับ mentor เท่าไร

– หนังก็ไม่ได้เปิดช่องให้จขบ.ได้มีอารมณ์กับความสัมพันธ์ไหนเลยแฮะ (หรือว่าจขบ.มีอารมณ์ร่วมช้า…)

– ผกก.ดูจะพยายามโยงเรื่องอย่างดี ใส่ใจกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ  แต่จขบ.ว่ามันเหมือนมีไอเดียเยอะแยะที่อยากใส่เข้าไป ถึงเป็นรายละเอียดที่ไม่ได้ดูจำเป็นก็ยัดมันเข้าไปอยู่นั่นจนเละไปหมดแล้ว วิธีการเล่าเรื่องไม่ได้ดีเท่าไร

– ทั้งนี้ทั้งนั้นจขบ.ชอบที่ Snowpiercer แฝงคอนเซปต์ที่ว่าคนเรารู้และยอมรับตามแต่สิ่งที่ตัวเองได้รับรู้บนโลกนี้ และสิ่งที่ตัวเองได้เห็นเท่านั้น เช่น เด็กที่เกิดบนรถไฟ ไม่เคยได้มีชีวิตอยู่ที่อื่นเลยก็จะไม่รู้ว่าดินมันเป็นอะไร มีไว้ทำไม  รวมถึงคำสอนที่ว่าเครื่องจักรรถไฟนั้นเป็นสิ่งศักสิทธิ์เหนือสิ่งใด และเจ้าของรถไฟวิลฟอร์ดก็ควรได้รับการนับถือเสมือนพระเจ้าผู้เมตตากรุณา เป็นต้น

– นักแสดงแต่ละคนแสดงกันเก่งดีค่ะ แต่เราว่าบทมันเหมือนยำปลากระป๋องที่มีกลิ่นชวนเวียนหัวแฮะ…

_

เอนี่เวย์ เจอกัน entry หน้าค่า