Posted in Articles, Reviews

[วิเคราะห์] ธีมและสัญลักษณ์ใน Puella Magi Madoka Magica the Movie: Rebellion

หนังไตรภาค Puella Magi Madoka Magica กำกับโดยอะคิยูกิ ชินโบ เขียนโดยเกน อุโรบุชิ

เราพยายามเน้นวิเคราะห์ภาค 3 “Rebellion” นะคะ แต่ก็มีอ้างอิงเอ่ยถึงสองภาคแรกเพื่อเปรียบเทียบและเชื่อมโยง

มีข่าวออกมาว่าจะมีหนังภาค 4 ออกมาเพิ่มปีหน้า (ซึ่งถ้าให้ตีความสัญลักษณ์ใน trailer แล้วก็… คลุมเครือ รอดูของเต็มเลยดีกว่า…) เราจึงหยิบมาดูใหม่ เขียนบทวิเคราะห์ซะเลยเพราะกะจะเขียนตอนดูครั้งแรกเมื่อปี 2014 จนป่านนี้ก็ยังไม่ได้เขียนสักที TvT

SPOILERS หนังไตรภาค Puella Magi Madoka Magica

puella-magi-madoka-magica-movie-3-rebellion

ธีมที่สอบเนื่องมาตั้งแต่สองภาคแรก: Beginnings กับ Eternal

สองภาคแรกเน้นธีม:

วัฏจักรความหวัง vs. ความสิ้นหวัง เมื่อความหวังบังเกิดขึ้นก็ย่อมมีความเส้นหวัง ทุกอย่างนำกลับมาที่ศูนย์เพื่อคงความสมดุลเอาไว้ ถ้าเป็นในแง่มุมของชาวพุธก็เป็นเรื่องของการมีความสุขก็ย่อมมีความทุกข์ หากเป็นแง่มุมของชาวคาทอลิก/คริสเตียน คำว่า despair นั้นก็ถือเป็นสิ่งที่สวนทางกันกับหลักแนวคิดที่ให้มีความหวัง มันคือที่สุดของความมืดก็ว่าได้ เพราะความหวังเป็นเหมือนต้นเหตุของแสงสว่าง

Consequentialism ซึ่งถือว่าความชอบธรรมของการกระทำนั้นตัดสินด้วยผลลัพธ์ หรือก็คือ  the ends justify the means – เป้าหมาย/ผลนั้นดีเป็นสิ่งสำคัญ แล้วจะใช้-วิธีไหนก็ถือว่ายอมรับได้

Utilitarianism (ประโยชน์นิยม) ผสมกับ consumerism (บริโภคนิยม) คือมีความเชื่อในการเอาประโยชน์สูงสุด เพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ ในหนังสองภาคแรกนำเสนอมาในแนวประมาณว่าทำไมล่ะ สิ่งที่ฉันทำกับเธอ ถึงเธอจะเดือดร้อน แต่ก็เหมือนเธอที่เธอทำกับสัตว์โลกนะ เธอดูแลสัตว์ที่เธอกิน ถึงจะฆ่ามันภายหลังแต่ก็ถือว่าเป็นการเอื้อกันเอง ก็เป็นสิ่งเดียวกับที่ประโยชน์ของจักรวาลโดยรวมที่ได้จากสาวน้อยเวทมนตร์

นอกจากนั้นเราคิดว่าสองภาคแรกเป็นการแสดงให้เห็นส่วนหนึ่งของ “โลกความเป็นจริง” ตามมุมที่เกน อุโรบุชิต้องการนำเสนอ ซึ่งนำมาสู้ธีมของความจริงไม่ได้มีเพียงด้านเดียว คิวเบย์สัตว์ตัวเล็กที่ดูไม่มีพิษมีภัย โผล่มาเสนอว่ามาเป็นสาวน้อยเวทมนตร์เถอะ! ถ้าเป็นแล้วเราจะให้แบบนี้ ๆ ตามที่ท่านต้องการ เสนอที่จะทำความหวังของท่านให้เป็นจริง แต่ทางเราไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่าท่านต้องเจอกับอะไรบ้าง จะเรียกว่า evil ได้รึเปล่า ก็อาจจะไม่เชิง คิวเบย์จะไปสร้างสถานการณ์บีบบังคับให้เป็นสาวน้อยเวทมนตร์ก็น่าจะได้ แต่ไม่ทำ ปล่อยให้เป็นทางเลือกของพวกตัวเอกล้วน ๆ สุดท้ายก็เป็นเพราะ “เธอไม่ได้ถาม” ธีมตรงนี้ก็พยายามให้คนดูได้สัมผัสเองด้วยจากการให้คนดูได้ค่อย ๆ เห็นความจริงแต่ละด้านเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไป ในตอนแรกก็ไม่มีใครรู้ว่าโฮมูระเป็นใคร เป็นต้น

.

.

ธีมในภาค 3: Rebellion

โดยรวมแล้วภาค Rebellion ก็ยังมีธีมในสองภาคแรก แต่ขยายต่อไปอีก เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการกบฏต่อพระเจ้า

ภาค Rebellion ขยายต่อจาก hope vs. despair และเริ่มพูดถึง desire vs. order (ความปรารถนา vs. กฎ) เมื่อคนเราแหกกฎเพื่อความปรารถนา

ธีมอีกอันที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดคือ ความรัก ในภาคนี้จะเห็นการเปรียบเทียบระหว่างความรักของมาโดกะกับความรักของโฮมูระ ความรักของมาโดกะก็สะท้อนความรักที่เสียสละโดยไม่คำนึงถึงความต้องการของตัวเอง ความรักที่ไม่อิจฉา ไม่โกรธเคียง ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน ความรักที่ไม่ทำร้ายใคร (อ้างอิง I Corinthian 13:4-7 – “Love is patient, love is kind. It does not envy, it does not boast, it is not proud. It does not dishonor others, it is not self-seeking, it is not easily angered, it keeps no record of wrongs. Love does not delight in evil but rejoices with the truth. It always protects, always trusts, always hopes, always perseveres.”) ในขณะที่ความรักของโฮมูระ… คนดูบางส่วนอาจดูแล้วคิดว่ามันดูเป็นความรักครอบครองเกินเหตุ หรืออาจจะเป็นความรักที่เห็นแก่ตัว แต่เราว่ามันใกล้เคียงกับของมาโดกะ แต่มาต่างกันตรงที่เอา desire มาก่อน ซึ่งนำไปสู่คำถามที่ว่า หรือว่านี่จะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ พวกเราคือเผ่าพันธุ์ที่มี desire เป็นแรงผลักดันโดยธรรมชาติ แต่ก็ใช่ว่าความรักแบบมาโดกะจะไม่มีอยู่จริง เพียงแต่เป็นสิ่งที่ยากที่จะอยู่ในรูปแบบตัวตนของมนุษย์ แต่ความรักของมาโดกะอยู่ในรูปแบบ “คอนเซปต์” ที่ผลักดันให้ผู้คนมีความหวังและไม่ร่วงหล่นสู่ความสิ้นหวังนั่นเอง

.

.

สัญลักษณ์:

.

การแปลงร่าง

การแปลงร่างในภาค Rebellion เราสนใจตรงท่าเต้นของแต่ละคน

มามิเต้นบัลเลต์ โดยรวมแล้วเป็นสัญลักษณ์ของความสง่างามและความสมบูรณ์แบบ แต่ท่าเต้นของมามิจะออกไปทาง ice skating มากกว่าท่าเต้นบัลเลต์ของโฮมูระ ท่าเต้นของมามิกระตุ้นความรื่นเริงกับความคึกคัก ฉากหลังเป็นดอกไม้ ในกรณีนี้เรามองว่าแสดงถึงความเป็นหญิง ตรงที่หมุนตัวรอบสุดท้ายมีลักษณะเหมือน grief seed ก่อนที่จะฉีกและหลุดออกจากความมืดในฉากที่แปลงร่างเสร็จ

เคียวโกะ (คนโปรดของเราเอง TvT ) เต้น Spanish dance เป็นสัญลักษณ์ของ passion และความรักที่เร่าร้อนเสมือนลุกเป็นไฟ ฉากหลังน่าจะเป็น… ผล apricot เพราะชื่อเคียวโกะมีตัวอักษรที่แปลว่า apricot (杏子) ที่เป็นสัญลักษณ์ของพลังที่ป็นผลมาจากอุปสวรรคของความทุกข์ยาก ช็อตที่แปลงร่างเสร็จมีการฉีกออกออกด้วยมือ เหมือนจะสื่อถึงการทำลาย ก่อนจะหลุดออกมาเป็นช็อตที่แปลงร่างเสร็จ

ซายากะเต้น break dance ซึ่งน่าจะสะท้อนบุคลิกลักษณะทอมบอย ๆ ของเธอ แต่คิดว่าคงเป็นการสะท้อนด้วยว่าเธอลืมเคียวสุเกะแล้ว (เพราะเคียวสุเกะเป็นดนตรีคลาสสิค) จะเรียกว่านี่คือตัวตนของซายากะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเคียวสุเกะก็ว่าได้ ถ้าเคียวโกะเป็นเหมือนไฟ ซายากะคงเป็นธาตุน้ำ มีฉากที่เธอวิ่งชนตัวเองก่อนจะหลุดจากความมืดอีกเหมือนกัน (ของซายากะน่าจะหมายถึงการต่อสู้กับตัวเอง)

โฮมูระก็เต้นบัลเลต์เหมือนกับมามิ ที่สองคนนี้ใช้บัลเลต์เหมือนกันอาจจะสะท้อนความเด็ดเดี่ยวที่ทั้งคู่มีเหมือนกัน (ทั้งสองเป็นตัวแทนของ determinism) แต่ไปคนละทาง ท่าเต้นของโฮมูระกระตุ้นคนละความรู้สึกกับมามิ จะแสดงถึงการมีภาระผูกพันและความเศร้า เราเห็นช็อตแวบ ๆ ของตัวอักษรแม่มด (เป็นการใบ้คำตอบของปริศนาในเรื่องให้คนดู) ฉากหลังมีเส้นด้ายสีชมพูและม่วง น่าจะสื่อถึงเส้นด้ายโชคชะตาที่ผูกเอาไว้ระหว่างเธอกับมาโดกะ มีช็อตที่เหมือนแผ่นฟิล์มผ่านไปด้วย (เป็น motif เชื่อมโยงกับฉากแรก ๆ ของหนังที่ต้อนรับทุกคนสู่โรงภาพยนตร์) เธอเองก็มีช็อตที่หลุดจากความมืดเหมือนกับคนอื่น

มาโดกะ เป็นท่าเต้นไอดอลสาวญี่ปุ่น ก็น่าจะเพราะเธอเป็น idolised figure ของโฮมูระ ของพวกพ้อง (และอาจจะของโลก ในฐานะพระเจ้า) มีแค่มือที่สว่าง มือของมาโดกะน่าจะเชื่อมโยงกับการใช้พลังในรูปแบบพระเจ้า (ตอนเธอช่วยคนอื่นเธอยื่นมือไปก่อน ตอนจบโฮมูระคว้ามื้อของเธอก่อนจะตัดเธอออกจากความเป็นพระเจ้า) ฉากหลังเป็นรูกุญแจกับกุญแจ เพราะเธอเป็นกุญแจสำคัญที่จะมาปลดล็อคโฮมูระในตอนท้าย มีดอกเดซี่ซึ่งมักจะมีความหมายเกี่ยวข้องความไร้เดียงสา ความบริสุทธิ์ รักแท้ การเริ่มต้นใหม่ มาคู่กับ clover ที่มีสี่ใบที่เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ภาพตัวมาโดกะที่จับมือเรียงกันน่าจะหมายถึงตัวตนที่มีอยู่มากมายในหลาย timeline และตัวตนที่มีอยู่ในทุก ๆ ที่ในฐานะพระเจ้า ตอนแปลงร่างเสร็จใช้มือปิดโชว์ตาข้าวเดียว เราตีความว่าเป็นดวงตาของพระเจ้าอีกเหมือนกัน ประมาณ the great eye ที่มองเห็นทุกสิ่ง และมาโดกะเป็นคนเดียวที่ไม่ได้หลุดออกจากความมืดแบบคนอื่น แต่เราเห็นแก้วแตก (เชื่อมโยงกับตอนจบที่เหมือนเธอจะแตกออกจากอัตตาความเป็นพระเจ้า) และมีเส้นสายรุ้ง เหมือนฟ้าหลังฝน (มีแถบสายรุ้งในฉากของโฮมูระแบบแม่มดด้วย ซึ่งสายรุ้งนั้นน่าจะเป็นความคิดถึงมาโดกะที่เป็นเสมือนฟ้าหลังฝนของโฮมูระ)

.

ใครคือเค้ก

ระหว่างร้องเพลงใครคือเค้ก แต่ละคนก็วนตอบไป

ซายากะ คือราสเบอร์รี่ เราตีความว่าเพราะราสเบอร์รี่คือสัญลักษณ์ของความใจดีในศิลปะของคริสเตียน น้ำสีแดงคือเลือดที่ไหลผ่านหัวใจ ซึ่งถือกันว่าความใจดีแผ่ออกมาจากส่วนนั้น คิดว่านี่น่าจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่ซายากะพยายามจะเป็น เหตุผลที่เธอมาเป็นสาวน้อยเวทมนตร์ส่วนหนึ่งก็เพราะความใจดี เธออยากเป็นสาวน้อยเวทมนตร์ในแบบที่เธอต้องการจะเป็น (ช่วยคนอื่น) ก็เพราะความใจดีอีกเหมือนกัน

เคียวโกะ คือแอปเปิ้ล สัญลักษณ์ของความรู้ ความอมตะ การล่อลวงและบาป ในภาษาละตินคำว่าแอปเปิ้ลกับ evil นี่เกือบจะเหมือนกัน (malum) หลัก ๆ เราคิดว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องราวชีวิตของเคียวโกะที่ถูกมองจากคุณพ่อว่าเป็นแม่มด เหมือนผู้ถูกล่อลวงและคนบาปที่ถูกขับไล่

มามิ คือชีส เป็นคนเดียวในกลุ่มที่ไม่ใช่ผลไม้ อันนี้เราคิดว่าเป็นเพราะมามิไม่ได้เป็นตัวของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ เธอมักจะสร้างฉากหน้าที่เข้มแข็งที่เหมือนมีการปรุงแต่งมาแล้ว และในหนังมี irony ตรงที่ว่าเบเบชอบกินชีสมากที่สุด ซึ่งในอีก timeline หนึ่ง มามิถูกกิน/ฆ่าโดยเบเบ (ภายหลังมีฉากหนึ่งที่มามิพูดกับเบเบว่าระวังจะกลายเป็นชีสนะ ซึ่งอาจจะสะท้อนแนวคิดเรื่องปลาใหญ่กินปลาเล็กที่มีอยู่ในภาคแรกๆ ถ้าไม่ระวังก็จะกลายเป็นผู้ถูกล่าเอาได้เหมือนกัน)

โฮมูระ คือฟักทอง สัญลักษณ์ของ Jack-O-Lantern หัวฟักท้องของฮัลโลวีน เกี่ยวข้องกับเรื่องราวแจ็ค ผู้ชายที่หยุดปิศาจไม่ให้เอาวิญญาณเขาไปนรก แต่สุดท้ายก็ไปไม่ได้ทั้งนรกและสวรรค์ เพราะสวรรค์ไม่รับ แต่จะไปนรกก็ไม่ได้เหมือนกันเพราะปิศาจสัญญาไว้แล้ว (โซลเจมของโฮมูระในตอนจบก็ดูคล้ายฟักทองด้วย) ฟักทองดูเหมือนจะหลุดออกมาจากปากของตัวฝันร้ายแล้วค่อยตัดฉากไป ในขณะที่ของคนอื่น ๆ ไม่ได้เป็นแบบนั้น อาหารของคนอื่นจะเหมือนถูกป้อนให้ตัวฝันร้าย

มาโดกะ คือเมลอน เป็นผลไม้ตระกูลที่เชื่อมโยงกับฟักทอง อาจจะต้องการสื่อความแตกต่างของเธอกับโฮมูระ ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงโชคชะตาที่ผูกกัน มาโดกะร้องว่า “เมื่อเมลอนแตกออก มันนำฝันดีมาสู่ทุกคน” (โยงกับตอนจบของหนังภาค 2 ที่ตัวตนของมาโดกะแตกกระจายออกไปกลายเป็นเพียงคอนเซปต์ ที่นำความหวังมาให้มนุษยชาติ และโยงกับตอนจบของหนังภาคนี้เช่นเดียวกัน)

.

ฉากรู้ความจริง

ตอนที่โฮมูระรู้ความจริงว่าใครคือแม่มด เธอขึ้นไปนั่งบนรถบัส และมีนาฬิกาจะตีบอกเวลาใกล้เที่ยงคืน พอถึงจังหวะที่เธอรู้ความจริงก็มีนกฮูกบินมา เป็นสัญลักษณ์ของความรู้ เมื่อรู้ก็บังเกิดไฟขึ้น แสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล ความทุกข์ร้อนใจ แล้วเวลาก็ตีบอกเวลาเที่ยงคืน ถือเป็นเริ่มต้นวันใหม่ หรือจะเรียกว่ากลับมาที่ศูนย์ดี… อีกนัยหนึ่งอาจจะหมายถึงการที่เวลาที่ถูกหยุดไว้ได้เดินต่อแล้ว

.

อื่น ๆ

โบว์สีแดงของมาโดกะ น่าจะหมายถึงเส้นดายของโชคชะตาแต่แรก เธอเลือกใส่โบว์อันนี้วันแรกที่เจอโฮมูระ (อย่างน้อยก็ในไทม์ไลน์ที่อยู่ในภาคแรก) เธอให้โบว์อันนี้กับโฮมูระตอนที่กลายเป็นพระเจ้า สุดท้ายในตอนจบโฮมูระก็คืนโบว์นี้ให้กับเธอ

.

.

.

ที่จริงอยากจะวิเคราะห์ Homulily ด้วย แต่แค่วกกลับไปดูฉากนั้นอีกทีก็… เยอะอยู่ วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะ ยาวแล้ว orz อื่น ๆ ถ้าไม่สปอยล์เป็นพิเศษอาจพล่ามในทวิตเตอร์แทนค่ะ

ทั้งนี้มีคนตีความหมายในมาโดกะไว้ร้อยแปด ของเราก็เป็นเพียงมุมหนึ่ง /โค้งรอบวงแล้วจากไปย์

Posted in Articles

My New Camera: Olympus E-PL7

I had always wanted a mirrorless camera, so I decided to get Olympus E-PL7 at the “Big Camera Big Pro Days 9”. It’s on promotion, so I got a discount plus another M.Zuiko Digital lense as a free gift.

My camera looks like this:

So basically I’m just going to post a bunch of photos for fun, as I’ve been fiddling around with my new camera quite a bit. XD However, I’m still not used to it yet, as I hadn’t used any camera for so many years. I didn’t quite have the colour tones I want yet when I took these photos.

.

This photo was taken by the ED 40 – 150 mm f4.0 – 5.6 R that came as the free gift.

.

And this was taken by the ED 14 – 42 mm f3.5 – 5.6 EZ that came with my E-PL7. My friend and I got Funassyi from Gashapon as a gift for our friend.

.

We tried out the Okinawa restaurant at Sukhumvit 69, which we enjoyed very much. It’s not as expensive as other Japanese restaurants around there.

.

Found this at Masaru Japan Store near the Okinawa restaurant. They sell second-hand stuff. Other than anime figures, they also sell clothes, bags, toys and cutteries etc.

.

Tried taking photos of m’dear friend in Sequential H mode (where photos can be taken 8 frames per sec).

.

I also tried the Partial Colour mode. 🙂 Red FTW.

.

My sister’s dog making herself comfortable on my freaking bed. XD

.

That’s all for today. I haven’t blog for such a long time.

Over and out. xx.

Posted in Articles

The compassionate counselor and the harmonized clarifiers

A compassionate counselor

I am an INFJ lady in a relationship with INFP man for almost 3 years. We survived through long distance relationship in our first few years. I am personally interested in MBTI personality and believe that everyone is unique and different from each others. Personality type does not fix who you are. It helps describe personalities and behaviours on different scales. I have read many articles on INFJ and INFP personality types. They help me to know that I’m not a weird person in this crazy world. I’m writing this article to share tips for any INFJ currently in relationship with INFP.

  1. One is organized while the other one is flexible. This is a big difference between INFJ and INFP. INFJs like to be organized and keep things in order. They follows their rules and try to keep things on their schedule while INFPs are more flexible and easy-going. INFP greatly prefer to start any works by examining…

View original post 347 more words

Posted in Articles

9 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ Avengers: Age of Ultron (สปอยล์)

หนัง-สือ-เพลง

avengers-2-age-of-utlron-screenshot-iron-man-hulkbuster-armor-4

คิดว่าหลายคนคงได้ดู Avengers: Age of Ultron ไปแล้ว และเกิดคำถามถึงรายละเอียดเล็กน้อย ที่หนังแอบใส่เข้ามาให้แฟนคอมมิคได้ฟิน เราเลยอาสาช่วยตอบบางคำถามที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้

View original post 224 more words

Posted in Articles

[General] An Eye-catching Resume

Kaiju Goose

Apart from selling prints of my artworks on my online shop, i would like to find a proper job after granted the US permanent resident status on September last year. So, i decided to revamp my resume to boost my chances. I was trying to move away from traditional style which full of text and here it is, my infographic resume!

Before VS. After: Traditional VS. Infographic Resume

Before After

It took me 3 days to complete the new design. I used 3-steps approach and working with what i’ve got on my old resume. I did cut some unnecessary information out and visualised necessary data using map, chart, graph and icon. Here is how i did it!

Step I: Research and Design

I did the online research using Google to search for examples and templates. I found lots of them but selected only those ones that in line to what i was looking…

View original post 369 more words

Posted in Articles, Reading

การปกครองตามกฎหมาย (นิติรัฐ)

ปรัชญาภาษา

โพสนี้เป็นผลพวงมาจากสเตตัสของผมในเฟสบุ๊คที่ผมเขียนไปเมื่อวันสองวันนี้ เกี่ยวกับเรื่อง “rule of law” หรือการปกครองตามกฎหมาย หรือที่แปลกันว่า “นิติรัฐ” หรือ “นิติธรรม” เราจะเริ่มกันที่สเตตัสของผมก่อนเลย

การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทำให้คิดว่าน่าจะโพสข้อความนี้ของ Frederic von Hayek (ซึ่งเคยเอามาโพสที่นี่นานแล้ว)

The rule of law, of course, presupposes complete legality, but this is not enough: if a law gave the government unlimited power to act as it pleased, all its actions would be legal, but it would certainly not be under the rule of law.

The rule of law, therefore, is also more than constitutionalism: it requires that all laws conform to certain principles.

แปลได้แบบนี้

“การปกครองตามกฎหมาย (นิติรัฐ) จำเป็นต้องมีความถูกต้องตามกฏหมาย แต่นี่ก็ยังไม่พอ หากกฎหมายให้อำนาจไม่จำกัดแก่รัฐบาลที่จะทำอะไรก็ได้ การกระทำของรัฐบาลใดๆก็จะถูกกฎหมาย แต่นี่ไม่ใช่การปกครองโดยกฎหมายอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุนี้ การปกครองตามกฎหมายจึงมีมากกว่าเพียงแค่การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แต่กฎหมายทุกอย่างต้องเป็นไปตามหลักการบางอย่าง”

ความหมายก็คือว่า การปกครองตามกฎหมาย หรือที่เรียกว่า “นิติรัฐ” เป็นการปกครองที่ใช้กฎหมายเป็นหลัก แต่ที่สำคัญก็คือว่า เราจะใช้เพียงแค่กฎหมายเป็นหลักเท่านั้นไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะมีการใช้อำนาจผิดๆที่ไม่เป็นธรรมออกกฎหมายที่ผิดๆออกมา ซึ่งรูปแบบจะดูเป็นว่าการใช้อำนาจนั้นเป็นไปตามกฎหมาย แต่การทำแบบนี้ผิดหลักการของการปกครองโดยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง หากศาล (หรือรัฐบาล หรือผู้ใช้อำนาจรัฐอื่นใด) ได้อำนาจมาตามกฎหมาย แต่กลับใช้อำนาจนั้นอย่างไม่ถูกต้อง การกระทำของศาลถึงแม้จะเป็นไปตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่ “นิติรัฐ” หรือการปกครองโดยกฎหมายที่แท้จริง เพราะการปกครองตามกฎหมายนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง ซึ่งมีอยู่นอกเหนือจากเพียงแค่ความถูกกฎหมายตามตัวอักษร

ตัวอย่างเช่น สมัยก่อนมีกฎหมายที่กำหนดวิธีการสอบสวนที่ใช้การทรมาน เช่นจับผู้ต้องหากดน้ำ ถ้าอยู่ใต้น้ำแล้วทนไม่ไหวโผล่ขึ้นมา ก็แปลว่าผู้ต้องหานั้นทำผิดจริง แต่ถ้าไม่โผล่ขึ้นมา คือจมน้ำตาย ก็แปลว่าไม่ผิด แต่ได้ไปอยู่พระเจ้าแล้ว จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่กำหนดวิธีการพิจารณาคดีแบบนี้ เป็นกฎหมายที่ผิดหลักการสากล หลักสากลที่ว่านี้จะมีอยู่ตลอดเพราะขึ้นอยู่กับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กฎหมายที่ตราขึ้นมาถ้าหากขัดแย้งกับหลักสากลตรงนี้ ก็ไม่สามารถรักษาและคุ้มครองความยุติธรรมในสังคมได้ บ้านเมืองก็จะวุ่นวายไม่มีที่สิ้นสุด ที่สมัยโบราณมีกฎหมายแบบนี้ใช้ก็เพราะว่ามีการใช้อำนาจดิบๆมากดขึ่กัน แต่สมัยนี้ประชาชนไม่ยอมรับสภาพแบบนี้อีกต่อไปแล้ว

ดังนั้นที่ Hayek บอกว่า [rule of law] requires that all laws conform to certain principles ก็คือตรงนี้นั่นเอง ไม่ใช่ว่าออกกฎหมายอะไรแล้วเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิไปหมด แต่กฎหมายจะศักดิ์สิทธิ์ได้ต้องยังประโยชน์สุขและถูกต้องตามหลักการที่ว่ามาข้างต้นเสมอ

ก่อนอื่นขอพูดเรื่องคำแปลของ “rule of law”…

View original post 143 more words

Posted in Articles, Reviews

Conceal, Don’t Feel: A Queer Reading of Disney’s [Frozen]

I’ve found that interpreting Disney’s Frozen as a gay allegory makes sense to me after all.

Dr. Angel Daniel Matos

Don’t let them in, don’t let them see
Be the good girl you always have to be
Conceal, don’t feel, don’t let them know
Well, now they know.

– Queen Elsa, “Let It Go” – Disney’s Frozen

Last night I saw Frozen, Disney’s adaptation of Hans Christian Andersen’s classic fairy tale entitled The Snow Queen. After seeing the film, my friend Katie pointed out that this movie is perhaps signaling another Disney renaissance, a period characterized not only by the adaptation of well-known tales, but also by an increased public interest in Disney films. I couldn’t agree more with Katie’s assessment–Frozen contained a sense of depth and heart that many recent Disney films lack. Something that I immediately thought about when leaving the movie theater was that Frozen is perhaps the queerest animated film ever produced by Disney–queer being a theoretical practice centered on the deconstruction of…

View original post 1,242 more words